ในปี 2017 เราเคยเขียนบทความออกมาเป็นชุดๆ ที่ว่าถึงเรื่องการผลักดันสกุลเงินหยวนของจีนให้มีอำนาจต่อรองขึ้นมาเทียบเท่ากับสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐที่ปัจจุบันเป็นสกุลเงินสำรองอันดับหนึ่งของโลกผ่านการเอาสกุลเงินหยวนไปผูกไว้กับตลาดซื้อขายน้ำมันดิบล่วงหน้าโดยหวังว่าการซื้อน้ำมันของทวีปเอเชียจะต้องซื้อขายกันด้วยสกุลเงินหยวนและในที่สุดจีนก็จะสามารถก้าวขึ้นมาเป็นผู้มีอำนาจต่อรองได้

ในเวลานั้นเรายังได้คาดการณ์เอาไว้อีกด้วยว่า 3 ประเทศอย่างจีน รัสเซียและอิหร่านอาจร่วมมือกันจัดตั้งเป็นพันธมิตรเพื่อพยายามโค่นดอลลาร์ลงจากบัลลังก์และลดบทบาทของสหรัฐฯ ที่กุมอำนาจโลกเอาไว้ จนถึงตอนนี้แม้ว่าสิ่งที่คาดการณ์นั้นจะยังไม่เกิดแต่ก็พึ่งมีรายงานออกมาแล้วว่าจีนและรัสเซียกำลังผนึกกำลังกันไม่ใช้สกุลเงินดอลลาร์ซึ่งข่าวนี้มาจากฝั่งจีนและรัสเซียมากกว่าในขณะที่สื่อฝั่งสหรัฐฯ กลับยังไม่มีการเอ่ยถึงเรื่องนี้

นอกจากนั้นในสัปดาห์ที่แล้วประเทศจีนและอิหร่านพึ่งจะเซ็นสัญญาข้อตกลงทางเศรษฐกิจมูลค่า $400,000 ล้านเหรียญสหรัฐไปโดยมีจุดประสงค์เพื่อลดการพึ่งพาระบบการเงินของสหรัฐฯ ซึ่งจะเป็นการลดอำนาจของดอลลาร์ลงไปในตัว แต่ถึงอย่างนั้นตลาดก็ยังไม่รู้สึกอยู่ดีว่ากำลังมีความพยายามล้มบัลลังก์ของดอลลาร์สหรัฐเกิดขึ้นจนต้องรอให้นักเศรษฐศาสตร์ชื่อดังนายสตีเฟ่น โรช ที่อดีตเคยนั่งตำแหน่งประธานมอร์แกน สแตนลีย์ฝั่งเอเชียออกมาพูดในช่วงปลายเดือนกรกฎาคมว่า “ดอลลาร์กำลังอยู่ในอันตรายเนื่องจากการฟื้นตัวจากโควิดที่ช้ากว่าชาติอื่น เป็นไปได้ที่ปริมาณการถือดอลลาร์ทั่วโลกอาจลดลงจาก 55% เหลือ 35%”

ขาเชื่อว่าดอลลาร์มีโอกาสลงมากกว่าถึงขนาดมองว่ามีความเป็นไปได้ที่ดอลลาร์จะลงมาตามหลังยูโรเลยด้วยซ้ำซึ่งจากการวิเคราะห์ทางเทคนิคแล้วปฏิเสธไม่ได้เลยว่าคำพูดของอดีตผู้บริหารระดับสูงของมอร์แกน สแตนลีย์ผู้นี้อาจกลายเป็นความจริงขึ้นมา

กราฟเด่นประจำวัน: ดัชนีดอลลาร์สหรัฐฯ เตรียมสร้างขาลงต่อ-1
DXY Daily

เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคมเป้าหมายขาลงของดัชนีดอลลาร์สหรัฐฯ ที่ 94.75 ของเราถูกปิดลงด้วยการมาถึงของดัชนีซึ่งการลงมาถึงจุดนี้เราเรียกว่า “ขาลงอีกหนึ่งสวิงเสร็จสิ้น” แล้ว เป็นขาลงที่เราไม่อยากให้เกิดขึ้นเลยเพราะการเกิดสวิงนี้เป็นการเปิดประตูให้ดอลลาร์สหรัฐสามารถลงมาทดสอบเส้นเทรนไลน์ขาขึ้นระยะยาวที่ระดับราคา 90.00 ซึ่งลากมาตั้งแต่เดือนเมษายนปี 2011 และเป็นตัวเลขแนวรับจิตวิทยาด้วย ตัวเลข 90 นี้มีความสำคัญเป็นอย่างมาก หากราคาไม่หลุดแนวรับนี้ลงไปโอกาสที่จะกลับขึ้นไปยัง 103 ถือว่ายังมีแต่ถ้าหลุดลงมาได้จริงๆ มีโอกาสที่ดัชนีดอลลาร์สหรัฐจะลงไปลึกมาก

ล่าสุดตอนนี้กราฟดัชนีดอลลาร์สหรัฐสามารถหลุดกรอบธงสามเหลี่ยมลงมาได้แล้วและสร้างขาลงต่อหลังจากนั้น 4% การที่ราคามีพฤติกรรมเช่นนี้แสดงให้เห็นว่ามีคนที่ไม่เชื่อมั่นในดอลลาร์อยู่เยอะและยินดีที่จะปล่อยให้ดัชนีลงไปเพื่อซื้อในจุดที่ถูกกว่า ในตอนนี้ภาพที่เรากลัวที่สุดคือปฏิกริยาลูกโซ่ที่อาจเกิดขึ้นต่อจากนั้นถ้านักลงทุนยินดีที่จะทิ้งดอลลาร์มากขึ้นเรื่อยๆ จนนำไปสู่การหลุดกรอบเทรนด์ไลน์ขาลงใหญ่ที่ลากมาตั้งแต่จุดสูงสุดเดือนมีนาคม

กลยุทธ์การเทรด

เทรดเดอร์ที่ไม่ชอบความเสี่ยงอาจจะรอจนกว่ากราฟลงไปต่ำกว่า 90.00 ซึ่งเท่ากับว่ากราฟต้องหลุดเส้นขาขึ้นระยะยาวลงไปด้วย

เทรดเดอร์ที่รับความเสี่ยงได้ปานกลางจะรอวางคำสั่งขายเมื่อดอลลาร์กลับขึ้นมาที่ธงสามเหลี่ยมได้อีกครั้งหรือไม่ก็บริเวณขอบของสามเหลี่ยมลงรูปใหญ่

เทรดเดอร์ที่รับความเสี่ยงได้สูงจะวางคำสั่งขายเลยตอนนี้โดยวางเป้าหมายเอาไว้ที่จุดต่ำสุดเมื่อราคาลงไปขนกับกรอบราคาด้านล่าง จากนั้นจะปิดคำสั่งซื้อขายเพื่อหนีความเป็นไปได้ที่ราคาอาจดีดตัวขึ้น

ตัวอย่างการเทรด

- จุดเข้า: 92.50

- Stop-Loss: 93.00

- ความเสี่ยง: 50 จุด

- เป้าหมายในการทำกำไร:91.00

- ผลตอบแทน: 150 จุด

- อัตราความเสี่ยงต่อผลตอบแทน: 1:3

แนะนำโพสต์

ดอลลาร์สหรัฐยังไม่เลือกทางชัดเจนก่อนรายงานตัวเลขยอดค้าปลีก

รายงานตัวเลขยอดค้าปลีกและดัชนีวัดความเชื่อมั่นของผู้บริโภคโดยมหาลัยมิชิแกนถือเป็นข่าวที่สำคัญที่สุดของดอลลาร์สหรัฐในสัปดาห์นี้สิ่งที่นักลงทุนฝั่งสหรัฐฯ ต้องการมากที่สุดมาตั้งแต่วันจันทร์แล้วคือข่าวความคืบหน้าเกี่ยวกับการพูดคุยถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและแนวทางการฟื้นฟูเศรษฐกิจสหรัฐฯ ข้อมูลอัตราเงินเฟ้อและดอกเบี้ยแทบไม่มีนักลงทุนคนไหนสนใจและมีผลกระทบต่อตลาดน้อยมากเนื่องจากเฟดยังคงอัตราดอกเบี้ยเอาไว้ใกล้กับ 0%

ดอลลาร์แข็งค่าขึ้น หลัง FED ยังคงมีมุมมองลบต่อภาพรวมเศรษฐกิจสหรัฐ

ดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายทีตลาดปริวรรตเงินตรา นิวยอร์กเมื่อคืนนี้ หลังจากธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เปิดเผยรายงานการประชุมเดือน ก.ค. ซึงระบุว่า กรรมการเฟดส่วนใหญ่ได้เน้นย้ำถึงความจําเป็นในการออกมาตรการเยียวยาเศรษฐกิจ เนืองจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19